วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552


สวัสดีครับ สมาคมฟุตบอลฯ ประกาศรายชื่อผ่านเว็ปไซต์ www.fat.or.th ทีมชาติไทย จะมีการแข่งขันนัดกระชับมิตร กับ ทีมชาตินิวซีแลนด์ 2 นัด ในวันที่ 28 และ 31 มีนาคม 2552 ณ สนามศุภชลาศัย โดยในวันที่ 28 มี.ค. 52 จะเป็นการแข่งขันระหว่างทีมชาติไทยชุดใหญ่ พบกับ ทีมชาตินิวซีแลนด์ ซึ่งเกมในนัดนี้จะเป็นนัดอำลาสนามให้กับ "ตะวัน ศรีปาน" และ ในวันที่ 31 มี.ค. 52 จะเป็นการพบกันระหว่างทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ พบกับ ทีมชาตินิวซีแลนด์
รายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดใหญ่ นัดกระชับมิตร กับทีมชาตินิวซีแลนด์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2552 มีดังต่อไปนี้
ผู้รักษาประตูโกสินทร์ หทัยรัตนกุล ชลบุรี เอฟซีกิตติศักดิ์ ระวังป่า โอสถสภา เอ็ม150
กองหลังสุรีย์ สุขะ ชลบุรี เอฟซีณัฐพงษ์ สมณะ ชลบุรี เอฟซีนิเวส ศิริวงศ์ พัทยา ยูไนเต็ดณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ เมืองทองฯ ยูไนเต็ดชลทิศ จันทคาม ชลบุรี เอฟซีภานุพงษ์ วงศ์ษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกียรติประวุฒิ สายแวว ชลบุรี เอฟซี
กองกลางตะวัน ศรีปาน บีอีซี เทโรศาสนรังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโขค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดัสกร ทองเหลา ฮองอันห์ยาลายสุเชาว์ นุชนุ่ม ทีโอที เอฟซีพิชิตพงษ์ เฉยฉิว เมืองทองฯ ยูไนเต็ดสุรัตน์ สุขะ ชลบุรี เอฟซีอาทิตย์ สุนทรพิธ ชลบุรี เอฟซีสุธี สุขสมกิจ แทมปิเนส โรเวอร์นิรุจน์ สุระเสียง ฮองอันห์ยาลายศักดา เจิมดี ฮองอันห์ยาลายณรงค์ชัย วชิรบาล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคธนพัต ณ ท่าเรือ เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
กองหน้ารณชัย รังสิโย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคธีรศิลป์ แดงดา เมืองทองฯ ยูไนเต็ดนันทวัฒน์ แทนโสภา บางกอกกล๊าส เอฟซีกีรติ เขียวสมบัติ ทีโอที เอฟซี
รายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ มีดังต่อไปนี้
ผู้รักษาประตูแซมมวล ป. คันนิ่งแฮม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกวิน ธรรมสัจจานันท์ เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
กองหลังเกียรติประวุฒิ สายแวว ชลบุรี เอฟซีสุทธินันท์ พุกหอม ชลบุรี เอฟซีพลวุฒิ ดอนจุ้ย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสุภชัย ภูผา บางกอกกล๊าส เอฟซีเจษฎากร เหมแดง ชลบุรี เอฟซีนวพล ตันตระเสนีย์ เมืองทองฯ ยูไนเต็ดจิรณัฐ นนทเกษ BANGKOK UNITEDพลวัฒน์ วังฆะฮาด บางกอกกล๊าส เอฟซี
กองกลางอดุลย์ หละโสะ ชลบุรี เอฟซีอรรถพงศ์ หนูพรหม ศรีราชา เอฟซีจักรพันธ์ แก้วพรม บีอีซี เทโรศาสนพิชิต ใจบุญ บีอีซี เทโรศาสนอาทิตย์ สุนทรพิธ ชลบุรี เอฟซีภานุวัฒน์ จินตะ ชลบุรี เอฟซีวัฒนศัพท์ เจริญศรี จุฬาฯ ยูไนเต็ด
กองหน้าอิสระพงษ์ ลิละคร ขอนแก่น เอฟซีธีรศิลป์ แดงดา เมืองทองฯ ยูไนเต็ดรณชัย รังสิโย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ ศรีราชา เอฟซีกีรติ เขียวสมบัติ ทีโอที เอฟซีที่มา http://www.fat.or.thความเห็นส่วนตัวครับ สมาคมฟุตบอลและทีมงานปีเตอร์ รีด เรียกตัวผู้เล่นชุดซีเกมส์ซ้ำกับทีมชาติชุดใหญ่ น่าจะให้โอกาศนักฟุตบอลคนอื่นๆ บ้าง จะได้มีนักฟุตบอลฝีเท้าดีๆใว้ใช้งานจำนวนมาก กรณีตัวอย่าง ไมเคิล โอเว่น ติดทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ตอนอายุ 17 แล้ว ก็ไม่ใด้กลับไปช่วยทีม U 21 อีก เพื่อนๆมีความคิดเห็นเป็นอย่างไรก็แสดงความคิดได้ครับ

ไข้หวัดนก


ไข้หวัดนก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ไข้หวัดนก (อังกฤษ: avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
การระบาดของไข้หวัดนก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะในประเทศไทยและเวียดนาม มีการฆ่าสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ในฟาร์มไปหลายล้านตัว เพื่อระงับการแพร่กระจายของโรค

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดนก (Source: Dr. Erskine Palmer, CDC).
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติการระบาด
1.1 ประเทศจีนและฮ่องกง
1.2 ประเทศเวียดนาม
1.3 ประเทศไทย
1.4 ประเทศญี่ปุ่น
2 การตรวจวินิจฉัยโรค
3 วัคซีนป้องกัน
4 ไข้หวัดนกในคน
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น
//

[แก้] ประวัติการระบาด
เริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 20-40 ล้านคน
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500-2501 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย" (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน
ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน

[แก้] ประเทศจีนและฮ่องกง
ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 [1]
มีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ในตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และมีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว [2]

[แก้] ประเทศเวียดนาม
มีนาคม พ.ศ. 2550 เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเป็ดอายุ 45 วัน ในจังหวัดวินห์ลอง บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยเป็ดเหล่านั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1และ ทางการเวียดนามได้สั่งฆ่าเป็ดไปแล้ว 800 ตัว และสั่งฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดที่อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 140 กม.[3]
พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ดอีกแห่งนอกเมืองไฮฟอง ทำให้ลูกเป็ดอายุ 14 วัน ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนล้มตาย 2,120 ตัว และผลตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 นับเป็นการระบาดของไข้หวัดนกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ดังกล่าว [4] และเวียดนามพบการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกที่จังหวัดเงียอาน ของเวียดนาม [5]

[แก้] ประเทศไทย
มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี

[แก้] ประเทศญี่ปุ่น
พบไวรัสไข้หวัดนก ในซาก " อินทรีเหยี่ยวภูเขา" มีผู้พบอินทรีตัวดังกล่าวมีอาการป่วย ที่หมู่บ้านซาการ่า ในจังหวัดคุมาโมโต้ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2550[6]

[แก้] การตรวจวินิจฉัยโรค
ไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3-4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ [7]

[แก้] วัคซีนป้องกัน
สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550[8] ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล [9]

[แก้] ไข้หวัดนกในคน
โดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18 – 20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60% [10]

[แก้] อ้างอิง
^ http://www.bangkokhealth.com/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=16958
^ http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000032761
^ http://dpc6.ddc.moph.go.th/viewh5n1.php?s_h5n1id=790&s_page=oldh5n1
^ http://www.naewna.com/news.asp?ID=61949
^ http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=5396
^ พบไข้หวัดนกในนกอินทรีที่ใกล้สูญพันธุ์ของญี่ปุ่น
^ http://www.bangkokbiznews.com/2008/04/01/WW54_5401_news.php?newsid=244218
^ http://www.thaihealth.net/h/article661.html
^ http://thai.cri.cn/28/2008/04/03/101@121913.htm
^ http://thai.cri.cn/1/2009/01/14/21s141860.htm

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
กรมควบคุมโรค: การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
ข้อมูลเกี่ยวกับหวัดนก โดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ สหรัฐฯ (ภาษาไทย)
WHO: Avian Influenza Fact Sheet โดย องค์การอนามัยโลก
Avian Influenza (Bird Flu)
แผนธุรกิจการเมืองเรื่อง‘ไข้หวัดนก’

ไข้หวัดนก เป็นบทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น